วิธีระบบ

....วิธีระบบเป็นกระบวนการคิดอย่างมีแบบแผนทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน สามารถวิเคราะห์และเรียงลำดับสิ่งที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนแต่ละองค์ประกอบมีความเกี่ยวโยงกันอย่างมีเหตุผล ทำให้มีประโยชน์ในการวางแผนเพื่อการปฏิบัติงานทุกประเภท วิธีระบบช่วยป้องกันและแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ในวงการศึกษาให้ความสำคัญต่อการนำวิธีระบบมาใช้ในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการศึกษา
ความหมายของวิธีระบบ
....ระบบ คือ ภาพรวมของโครงสร้างหรือขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น ระบบเป็นผลรวมของหน่วยย่อย ซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกัน แต่มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น ระบบการศึกษาจะมีองค์ประกอบเป็นหน่วยย่อยลงไปคือการเรียนการสอน การจัดการบริหารอาคารสถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวก ชุมชน และผู้เรียน
....สรุป วิธีระบบเป็นวิธีการรวมหน่วยย่อย ๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

............ความหมายวิธีระบบ หมายถึง วิธีระบบเป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กันโดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ความสำคัญของวิธีระบบ
....ในช่วงเวลาประมาณ 30-40 ปีที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบแนวคิดและทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์มากมายที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอน นับตั้งแต่การคิดเครื่องช่วยสอน การทดลองทฤษฎี การวางเงื่อนไขการสอนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการใช้พลังจากกระบวนการกลุ่ม ประกอบด้วยความจริงที่ว่า แม้จะมี “โสตทัศนูปกรณ์” ครบครับแล้ว แต่ผลลัพธ์ในด้านสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ มิได้สูงขึ้นเท่าที่ควรยังคงพบนักเรียนที่เบื่อหน่ายไม่สนใจต่อการเรียนมิหนำซ้ำการที่ตกอยู่ในสภาวะ “ถูกท่วม” ด้วยสื่อการเรียนการสอนที่มิได้มีการจัดระบบใช้ที่เหมาะสม ทำให้นักเรียนเบื่อหน่ายต่อสื่อการเรียนอย่างรวดเร็ว ใหม่ ๆ ก็ตื่นเต้น บ่อยครั้งเข้าขาดความหลากหลายก็ “เซ็ง” ด้วยสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น นักเทคโนโลยีการศึกษาและนักการศึกษาในสาขาอื่น จึงได้เริ่มให้ความสนใจแก่ “วิธีการ” ซึ่งกลายเป็น “แกน” ของแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์ และกลายเป็นคำหลัก (keyword) ของเทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบัน
.....การฝึกอบรมและการให้การศึกษาบุคลากรเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้บรรลุแนวคิดนี้ จึงมุ่งไปที่การผลิตผู้ออกแบบและจัดโปรแกรมเทคโนโลยีการศึกษาควบคู่ไปกับการผลิตช่างเทคนิค กล่าวคือ ผลิตในเชิง “Programmer Oriented” เพื่อจะได้นักเทคโนโลยีการศึกษาที่มองภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่มีระบบและมองภาพกว้างขวางขึ้น
องค์ประกอบของระบบ
.....โดยทั่วไประบบที่ครอบคลุมวงจรมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
.....1. ข้อมูลป้อนเข้า (input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหา ความต้องการ วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์
.....2. กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งอาจเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้
.....3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการ ซึ่งจะนำไปประเมินผล
.....4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งสามารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน

.....นอกจากองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการนี้แล้ว อาจมีส่วนประกอบอื่น ๆ ได้อีกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบ ซึ่งแต่ละระบบจะขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาและสิ่งที่เกี่ยวข้องต่างกัน
ขั้นตอนการจัดระบบ
.....การจัดระบบเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน และการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยการรวบรวมข้อมูล และทรัพยากร วิเคราะห์ปัญหา และรวบรวมวิธีการเพื่อแก้ปัญหาประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นการจัดการระบบในสาขาอุตสาหกรรมธุรกิจ การศึกษา หรืออื่น ๆ จะประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น ได้แก่
....1. ขั้นการวิเคราะห์ระบบ
........วิธีการวิเคราะห์ระบบ (system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
........1.1 วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน (mission analysis) คือ การพิจารณาทิศทางที่จะดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบ เพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ผู้วิเคราะห์ต้องรู้ถึงองค์ประกอบของขบวนการแก้ปัญหาเมื่อพ้นจากสภาพที่อยู่ไปยังสภาพที่พึงประสงค์ โดยการกำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานกว้าง ๆ ซึ่งเป็นข้อความย่อเกี่ยวกับสิ่งที่พึงประสงค์ไว้ และเขียนข้อกำหนด ในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดว่างานนั้นสำเร็จดีหรือไม่ รวมถึงอุปสรรคข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วย
........1.2 วิเคราะห์หน้าที่ (functional analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนไว้ในแนวทางการปฏิบัติงาน
........1.3 วิเคราะห์งาน (task, analysis) เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นวิเคราะห์หน้าที่ การวิเคราะห์หน้าที่ และงาน เป็นสิ่งขยายนั้นการวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน
........1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (methods-means analysis) เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติกลวิธีและสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย คือ สิ่งที่ต้องการ

.....2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ
.........วิธีการสังเคราะห์ระบบ (system synthesisสังเคราะห์ระบบ () ช่วยให้มีสมดุลของขั้นตอนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหามีขั้นย่อย ดังนี้เป็นสิ่าหกรรมธุรกิจ การศึกษา หรืออื่) ช่วยให้มีสมดุลของขั้นตอนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหามีขั้นย่อย ดังนี้
..........2.1 การเลือกวิธีการ หรือกลวิธีเพื่อหาทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบกลวิธี เพื่อปรับปรุงวิธีการดังกล่าวให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน
..........2.2 การแก้ปัญหา เมื่อเลือกวิธีแล้วก็ใช้กลวิธีการนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
..........2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน ดำเนินการแก้ปัญหาแล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้

.....3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง
.........การสร้างแบบจำลอง (construct a model) เป็นการจัดระบบเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้จริง การเสนอระบบมักจะออกมาในรูปแบบจำลอง โดยจำลองเป็นโครงสร้างที่จะทำนายผลที่จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง ระบบการทำงานแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน แต่อาจมีแบบจำลองระบบไม่เหมือนกัน
.........วิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ ได้แก่
.........3.1 แบบจำลองแนวนอน นิยมใช้รูปสี่เหลี่ยมแทนขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับ นิยมเชื่อมแต่ละขั้นตอนด้วยลูกศร อาจใส่หมายเลขกำกับขั้นตอนหรือไม่ใส่ก็ได้
.........3.2 แบบจำลองแนวตั้ง คล้ายแนวนอน แต่ต่างกันที่เริ่มจากด้านบนมาทางด้านล่าง
.........3.3 แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง
.........3.4 แบบจำลองแนววงกลมหรือวงรี
.........3.5 แบบจำลองกึ่งแผนแผนกึ่งรูปภาพ
.........3.6 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์

.....4. ขั้นการจำลองสถานการณ์
.........การจำลองสถานการณ์ (systematiocal simulation) เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบการณ์จริง เพื่อปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบก่อนนำไปใช้จริง เนื่องจากถ้านำไปใช้ในสถานการณ์จริงอาจทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และเงินหรืออาจเสี่ยงต่ออันตรายได้

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิธีระบบในการเรียนการสอน
…..นักการศึกษาได้พัฒนาขั้นตอนวิธีระบบที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนไว้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการดำเนินการด้านการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต่อไปนี้
.....1. ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีลี มี 10 ขั้นตอนดังนี้
……..1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
..........1.2 การกำหนดเนื้อหา
..........1.3 การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น
..........1.4 การกำหนดกลยุทธวิธีการสอน
..........1.5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน
..........1.6 การกำหนดเวลาเรียน
..........1.7 การจัดสถานที่เรียน
..........1.8 การเลือกสรรทรัพยากร
..........1.9 การประเมิน
..........1.10 การวิเคราะห์ผลย้อนกลับ

.....2. ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา มี 10 ขั้นตอนดังนี้
……...2.1 กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
……...2.2 กำหนดหน่วยการสอน
……...2.3 กำหนดหัวเรื่อง
……...2.4 กำหนดมโนทัศน์และหลักการ
……...2.5 กำหนดกิจกรรมการเรียน ให้สอดคล้องกับหัวเรื่องโดยคิดเป็นจุดประสงค์ทั่วไป
……...2.6 กำหนดกิจกรรมการเรียน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
……...2.7 กำหนดแบบประเมินผล
……...2.8 เลือกและผลิตสื่อการสอน วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่ครูใช้ถือเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
……...2.9 หาประสิทธิภาพชุดการสอน
……...2.10 การใช้ชุดการสอน

.....3. ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี มี 10 ขั้นตอนดังนี้ (ศ.สุมน อมรวิวัฒน์)
……...3.1 ขั้นนำ
……...3.2 ขั้นสอน
……...3.3 ขั้นสรุป
วิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน
.....การใช้วิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอนจะครอบคลุมถึงกระบวนการผลิต การใช้ และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน ซึ่งสามารถเขียนเป็นแบบจำลองได้ดังนี้
.....1. การผลิตสื่อ
.....2. การใช้สื่อ
.....3. การเก็บรักษาสื่อ

แบบจำลองการผลิตและการใช้สื่อแบบ The ASSURE Model
……...1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (analyze learner characteristics)
……...2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (state objective)
……...3. การเลือก
……...4. การใช้สื่อ (utilize materials)
……...5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (require learner response)
……...6. การประเมิน (evaluation)
บทสรุป
……...วิธีระบบเป็นผลของการรวมหน่วยย่อย ๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการดำเนินงานทางเทคโนโลยีการศึกษาวิธีระบบที่นำไปใช้ในการจัดสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีความสำคัญในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการทำให้โสตทัศนูปกรณ์ที่มีอยู่น่าสนใจและมีความหมายต่อผู้เรียน ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ ข้อมูลป้อนเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และข้อมูลย้อนกลับ การจัดระบบประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้น คือ การวิเคราะห์ระบบ การสังเคราะห์ระบบ การสร้างแบบจำลอง และการจำลองสถานการณ์ ในวงการศึกษาได้นำแนวคิดวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีลี ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี และนำมาใช้กับสื่อการเรียนการสอนในขั้นตอนการผลิตสื่อ การใช้สื่อและการเก็บรักษาสื่อ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอนและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด